- ข้อแรก Web1.0 แก้ไขอัพเดตข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บได้เฉพาะ Webmaster หรือคนดูแลเว็บไซต์เท่านั้นแต่ Web2.0 สามารถสื่อสารตอบโต้ได้ทั้งผู้สร้างเว็บและผู้ใช้เว็บ ดังเช่น Blog หรือการโพสต์กระทู้ต่างๆ
- ข้อ 2 Web 1.0 สร้างเรตติ้งแบบปากต่อปากได้ยาก เนื่องจากสื่อสารทางเดียวแต่ Web 2.0 สามารถสร้างปรากฏการณ์แบบปากต่อปากได้ดังไฟลามทุ่ง จากการแนะนำผ่าน Blog ส่วนตัว คุณอาจตัดสินใจซื้อครีมชนิดนั้นมาใช้เพราะคนที่ใช้แล้วดีมาเขียนบอกใน Blog หรือเลิกซื้อขนมปังยี่ห้อนั้นไปตลอดชีวิต เมื่อมีคนถ่ายภาพราขึ้นแฮมจากร้านนั้นมาลงให้ดู ซึ่งเป็นสิ่งที่ Web 1.0 ไม่อาจทำได้
- ข้อ 3 Web 1.0 ให้ข้อมูลความรู้แบบตายตัว การเปลี่ยนแปลงแก้ไขขึ้นอยู่กับ Webmasterแต่ Web 2.0 สามารถต่อยอดข้อมูลต่างๆออกไปได้ไม่จำกัด และข้อมูลจะถูกตรวจสอบคัดกรองอยู่ตลอด ตัวอย่างเช่น Wikipedia ที่ใครก็สามารถเขียนในสิ่งที่ตนรู้ลงไปได้
- Web 2.0 ยังก่อให้เกิดการตลาดแบบใหม่ สร้างงาน สร้างธุรกิจเงินล้านบนอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดนักธุรกิจในโลกออนไลน์มากมาย
- more infor http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3853bfbb7674a293
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
web 2.0 คืออะไร
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Lab1: การตกแต่ง blog
- รูปภาพในบทความ
- รูปภาพจากการเพิ่ม Add a Gadget
- ป้ายกำกับ
- link ภายในบทความ
- Your friend Link list
การเพิ่มระบบ Feed ลงใน Blog
- Layout > Page Element
- Add a Gadget
- Feed +
- Enter URL: http://url/ blog/feeds/posts/default
feed คืออะไร
- feed คือการส่งข้อมูลบน website หรือ blog ที่มีการ update ไปยังผู้อ่านที่สมัครรับ feed โดยตรง
- ช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านบทความได้โดยไม่ต้องการเข้าไปหน้า blog
- จะอ่านผ่าน web browser
- จะอ่านผ่าน feed Reader
- feed เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยในการ Promote blog หรือ Website ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
Social Bookmark คืออะไร
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเจ้าเว็บ Social Bookmark นี่มันคือเว็บอะไร? เอาไว้ทำอะไร? มีประโยชน์อย่างไร? หาได้ที่ไหน? . . ..หยุดความสงสัยของท่านไว้แค่นี้ก่อน แล้วลองอ่านบทความต่อไปนี้ เผื่อจะทำให้ท่านได้รู้จักกับเจ้าเว็บ Social Bookmark มากขึ้น และค่อยๆคลายความสงสัยไปทีละข้อๆ เอาล่ะเรามาเริ่มกันเลยนะ
1. Social Bookmark คือเว็บอะไร
ก่อนอื่นเรามาแปลคำว่า Social Bookmark ให้เป็นภาษาไทยกันก่อนดีไหม เผื่อเป็นภาษาบ้านเกิดเราแล้วจะได้เข้าใจมากขึ้นไง
- Social = เกี่ยวกับสังคม, เกี่ยวกับการอยู่เป็นหมู่
- Bookmark = ที่คั่นหนังสือ
รวมกันแล้วก็จะเป็น “ที่คั่นหนังสือที่อยู่กันเป็นหมู่” แต่ในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงหนังสือ เราจะหมายถึงหน้าเว็บต่างๆแทน เมื่อนำมาแปลความหมายใหม่และเรียบเรียงอย่างสวยงามก็จะเป็น “ที่คั่นหน้าเว็บซึ่งถูกจัดไว้เป็นหมวดหมู่” ทีนี้เราเริ่มมองเห็นภาพขึ้นมาลางๆแล้วใช่ไหม ว่าเจ้า Social Bookmark มันคือเว็บอะไร
2. Social Bookmark เอาไว้ทำอะไร
ปกติเวลาที่เราใช้งานอินเทอร์เน็ตท่องเว็บไปเรื่อยๆ เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการนั้น ไม่ว่าจะเพื่อหาความรู้ หรือหาสิ่งบันเทิงต่างๆที่เราต้องการ เมื่อเราไปเจอเว็บหรือหน้าเว็บเพจที่มีข้อมูลที่เรากำลังค้นหาแล้วนั้น ท่านจะทำอย่างไร. . . .อ่าน! . .เอ่ออ แต่ถ้าท่านอยากจะเก็บหน้าเว็บนั้นไว้ล่ะ เผื่อวันหลังจะได้กลับเข้ามาอีก จะทำยังไงดีล่ะ ชื่อเว็บก็จำยาก ถ้าท่านใช้ Internet Explorer ในการท่องเน็ตล่ะก็ ท่านก็คงจะใช้คำสั่ง Add to Favorite ใช่ไหม ตัว Browser ของเครื่องท่านก็จะเก็บหน้าเว็บเพจที่ท่านต้องการไว้ และสามารถเลือกเปิดได้อีกครั้งตามที่ท่านต้องการ
แต่ถ้าเกิดวันหลังท่านไม่ได้ใช้เครื่องที่บ้านล่ะ ท่านอยู่ที่ทำงาน มหาวิทยาลัย ร้านอินเทอร์เน็ต หรือที่ไหนก็ตามแต่ แล้วท่านเกิดอยากจะเข้าเว็บที่ท่านเคย Add to Favorite ไว้ในเครื่องที่บ้านล่ะ ท่านจะทำยังไงดี จะค้นหาอีกทีก็คงเสียเวลาพอดู ไม่ต้องห่วง! เว็บ Social Bookmark สามารถช่วยท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นการหั่น สับ หรือตัดเนื้อแช่แข็ง เว็บ Social Bookmark สามารถให้ท่านนำหน้าเว็บที่ท่านถูกใจไปซับมิทลิงค์เก็บไว้ได้ ไม่ว่าท่านจะอยู่แห่งไหนบนโลกที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ท่านก็สามารถเข้ามาดูเว็บโปรดที่ท่านเก็บไว้ได้ตลอดเวลา ก็เหมือนกับการ Add to Favorite ไว้บนเว็บ Social Bookmark แทนนั่นเอง
3. Social Bookmark มีประโยชน์อะไร
นอกจากหน้าที่หลักของมันที่กล่าวไปแล้วในข้อ 2 นั้น เจ้าเว็บ Social Bookmark ยังมีประโยชน์อื่นๆนอกเหนือจากเว็บเก็บลิงค์ธรรมดาๆ นั่นก็คือลิงค์ที่ท่านนำไปเพิ่มไว้ ซึ่งถ้ามันมีประโยชน์ต่อตัวท่านแล้ว มันก็น่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้างน่า เพราะฉะนั้นสมาชิกคนอื่นก็สามารถจะเห็นลิงค์หรือเว็บที่ท่านนำมาเพิ่มไว้ได้ ถ้าลิงค์ที่ท่านนำไปเพิ่มไว้มันมีคุณภาพและความรู้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นจริงๆ ลิงค์ของท่านก็อาจจะได้รับการโหวตจากเพื่อนสมาชิกได้ ยิ่งคะแนนมากเท่าไหร่ลิงค์ของท่านก็จะได้รับความสนใจมากขึ้น และในขณะเดียวกันท่านก็สามารถโหวตให้กับลิงค์ของคนอื่นที่ท่านชอบได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เว็บ Social Bookmark เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ และเป็นแหล่งค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจที่ท่านกำลังต้องการก็ได้
ประโยชน์สำหรับเว็บมาสเตอร์
Social Bookmark เป็นเว็บที่ใช้ในการโปรโมทเว็บได้เป็นอย่างดี ท่านสามารถนำลิงค์ของเว็บท่านมาเพิ่มไว้ใน Social Bookmark ได้ ถ้าเว็บของท่านมีประโยชน์และน่าสนใจ ท่านก็จะได้รับการโหวตจากเพื่อนสมาชิก และพวกเขาก็จะตามเข้าไปในเว็บท่านจากลิงค์ที่ได้ฝากไว้
ประโยชน์อีกอย่างที่น่าสนใจมากๆของเว็บ Social Bookmark ก็คือ เว็บที่นำมาเพิ่มไว้นั้นจะได้ Backlink กลับไปด้วยนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เว็บมาสเตอร์ทั้งหลายตามหาและอยากได้มากมาย แต่สำหรับเว็บ Social Bookmark นั้นก็จะมีการทำ Backlink กลับไปในหลายๆรูปแบบ แบ่งเป็นหลักๆได้ 3 ชนิด
- DoFollow Backlink แบ็คลิงค์ที่เหล่าเว็บมาสเตอร์ทั้งหลายใฝ่ฝันหา เพราะแบ็คลิงค์แบบนี้จะส่งต่อให้ทั้งคะแนน pr ทราฟฟิก และบอทไปยังเว็บของท่าน ซึ่งมีประโยชน์ในการทำ SEO เป็นอย่างมาก
- NoFollow Backlink อันนี้จะเป็นแบ๊คลิงค์ที่ท่านจะได้ทราฟฟิกจากเว็บไป แต่จะไม่ส่งต่อคะแนน pr ให้ และเป็นลิงค์ที่มีคำสั่งไม่ให้บอทตามไปเก็บข้อมูลของเว็บท่านด้วย แต่มีหลายท่านบอกไว้ว่าถึงจะเป็นลิงค์แบบ NoFollow บอทก็จะตามไปเก็บข้อมูล แต่จะไม่ส่งต่อคะแนน pr ให้เท่านั้นเอง (แต่ก็เป็นสิ่งที่เราอยากได้ที่สุด)
- Redirect Backlink ลิงค์แบบนี้เป็นลิงค์ที่เราจะได้แต่ทราฟฟิกอย่างเดียว นอกนั้นเราจะไม่ได้อะไรเลย ทั้งบอทและคะแนน pr
ถ้าท่านคิดจะโปรโมทเว็บล่ะก็ ขอแนะนำให้ไปซับมิทกับ Social Bookmark ที่ให้ลิงค์แบบ DoFollow ยิ่งเว็บ Social Bookmark นั้นมีคะแนน pr เยอะๆยิ่งดี เพราะนอกจากท่านจะได้ค่าคะแนน pr ที่ดีกลับไปแล้ว เว็บประเภทนี้จะมีบอทจากเสิชเอนจิ้นต่างๆเข้ามาเก็บขอมูลบ่อยมาก ชนิดนาทีต่อนาทีเลยทีเดียว ซึ่งบอทเหล่านี้ก็จะตามไปเก็บข้อมูลที่เว็บท่าน ทำให้เว็บท่านถูกเสิชเอนจิ้นอินเด็กซ์หน้าเว็บไว้ และสามารถทำอันดับในผลการค้นหาให้สูงขึ้นได้
4. Social Bookmark หาได้ที่ไหน
เว็บ Social Bookmark ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมก็มีอยู่หลายที่ ตัวอย่างเว็บที่เด่นๆดังนี้
- Digg.com
- Delicious.com
- Reddit.com
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
แทรกภาพลงในบทความ
- ขณะที่อยู่ที่ขั้นตอนการเขียนบทความ ให้คลิกปุ่ม Add Image
- คลิกปุ่ม Browse... ใต้หัวข้อ Add an image from your computer แล้วเข้าไปเลือก file ภาพในคอมพิวเตอร์ของเรา
- กรณีดึงภาพจากเว็บไซท์อื่นมาแสดง ให้กรอก URL ของไฟล์ภาพนั้นในช่อง URL ใต้หัวข้อ Or add an image from the web
- ถ้าต้องการแทรกไฟล์ภาพลงในบทความมากกว่า 1 ภาพ ให้คลิกคำสั่ง Add another image
- หลังจากนั้น คลิกเลือกรูปแบบเลย์เอาต์หรือการจัดว่างภาพภายใต้หัวข้อ Choose a layout
- เลือกขนาดการแสดงผลไฟล์ภาพ ขนาดเล็ก ปานกลาง หรือขนาดใหญ่
- mark at "Use this layout every time" หากต้องการแสดงผลไฟล์ภาพในรูปแบบเดียวกันในครั้งต่อไป
- คลิกปุ่ม UPLOAD IMAGE
- เมื่อภาพถูก upload เรียบร้อย จะปรากฎข้อความ Your image has been added. คลิกปุ่ม DONE
เทคนิคการเขียนบทความให้น่าอ่าน
- หมั่นอัปเดตเนื้อหาของบทความในบล็อก
- เขียนบทความซึ่งมีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน
- เลือกใช้คำที่มีพลัง
- ใช้เทคนิคการเขียนแบบตั้งคำถาม
- จัดลำดับเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบ
- บทความไม่ควรยาวเกินไป
- คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อ่านเป็นหลัก
- หมั่นอัปเดตหรือปรับแก้บทความที่เขียนไปแล้ว
- เขียนบทความด้วยภาษาที่เป็นกันเอง
- เพิ่มสีสันของบทความตามความเหมาะสม
- เลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่ายและสวยงาม
เทคนิคตั้งชื่อบทความให้โดนใจ
- เลือกใช้คีย์เวิร์ดที่น่าสนใจ
- ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา
- ตั้งชื่อให้สื่อความหมายชัดเจน
- ชื่อบทความต้องไม่ยาวเกินไป
- ตั้งชื่อบทความให้สะดุดความสนใจ
- สื่อให้ชัดเจนถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ
เริ่มต้นสร้าง Blog ด้วย Blogger
- เปิดโปรแกรมเบราเซอร์ขึ้นมา enter URL: http://www.blogger.com/
- ขั้นตอนการสร้าง user account
- Email address กรอก email address ที่จะใช้ sign in
- Retype email address ยืนยัน email address อีกครั้งหนึ่ง
- Enter password กำหนด password ตามต้องการ ความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร
- Retype password
- Display name ตั้งชื่อผู้ดูแลระบบ โดยทั่วไปจะเป็น Webmaster หรือ admin
- Word Verification
- Acceptance of Temrs
- Blog Title ชื่อบล็อกนี้จะปรากฎบนไตเติลบาร์ของเว็บเบราเซอร์
- Blog address กำหนดชื่อ URL